วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การละเล่น ตะแล้ปแก็ป


ตะแล้ปแก็ป

            ตะแล็บแก็บ การเล่นตะแล็บแก็บใช้ผู้เล่น 2 คน ยินห่างกันเท่ากับความยาวของเชือก ฝ่ายหนึ่งจะเป็นคนพูดและอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้ฟัง หรือสลับกันพูดและฟัง การถือกระบอกไม้ไผ่จะต้องดึงเชือกให้ตึง ผู้พูดจะพูดกรอกลงไปในรูกระบอกไม้ไป่ด้านที่ไม่ปิดกระดาษ ผู้ฟังจะจับกระบอกไม้ไผ่ โดยนำส่วนปากกระบอกแนบกับหูเพื่อฟังการสื่อสารติดต่อซึ่งกันและกัน



















cr.http://www.stjohn.ac.th/department/internet_rally/rally5_47/it_cul/

การละเล่น งูกินหาง


งูกินหาง

       งูกินหาง อุปกรณ์และวิธีเล่น การเล่นงูกินหางไม่มีอุปกรณ์การเล่นใด ๆ สามารถเล่นได้ทุกโอกาสจะมีเล่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนมากผู้ใหญ่จะเล่นในเทศกาลสำคัญ เช่น สงกรานต์ ส่วนเด็ก ๆ จะเล่นทุกโอกาสที่เด็ก ๆ รวมกันซึ่งมีวิธีการเล่นดังนี้ เริ่มเล่นเมื่อผู้เล่นพร้อมกันแล้วจะเริ่มด้วยการเสี่ยงถ้าใครแพ้คนนั้น ก็จะออกเป็นพ่องู ส่วนผู้ชนะก็จะได้เล่นเป็นแม่งูและลูกงู ู ส่วนมากในกลุ่มผู้เล่นจะเลือกเอาคนที่มีร่างกายแข็งแรงหรือรูปร่างใหญ่ในทีม เป็นแม่งู เพื่อเอาไว้ป้องกันลูกงู เมื่อได้ผู้เล่นแล้วพ่องูและแม่งูจะยืนหันหน้าเข้าหากัน ส่วนแม่งูจะมีลูกงูกอดเอวต่อแถวไปข้างหลังแล้วพ่องูจะเริ่มถามแม่งูว่า พ่องู "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน" แม่งู "กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมา" พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา พ่องู "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน" แม่งู "กินน้ำบ่อหินบินไปบินมา" พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา พ่องู "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน" แม่งู "กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา" พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา พ่องู "กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว" เมื่อพ่องูกล่าวเสร็จพ่องูจะเริ่มไล่จับลูกงูที่กอดเอวแม่งูอยู่ส่วนแม่งูก็ จะพยายามป้องกันไม่ให้พ่องูไปแย่งลูกงูได้ เมื่อพ่องูจับลูกงูคนใดได้ลูกงูก็จะออกมายืนอยู่ต่างหากเพื่อรอเล่นรอบต่อไป ส่วนพ่องูจะพยายามแย่งลูกงูให้ได้หมดทุกตัวจึงจะถือว่าจบการเล่นรอบหนึ่ง เมื่อพ่องูจับลูกงูได้ทุกตัวแล้วก็จะเริ่มเล่นใหม่ โดยพ่องูคนเดิมจะกลับไปเป็นแม่งูในรอบต่อไป







cr.http://www.stjohn.ac.th/department/internet_rally/rally5_47/it_cul/



การละเล่น


การละเล่น

            “การละเล่น” หมายถึง การกระทำหรือกิจกรรมใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความสนุกสนานรื่นเริงบันเทิงใจ ซึ่งมักมีกติกาการเล่นหรือการแข่งขันง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อนมากนัก จุดประสงค์ส่วนใหญ่ มุ่งเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพื่อออกกำลังกาย และก่อให้เกิดความสามัคคีทั้งระหว่างผู้เล่นและผู้ชม กติกาอาจกำหนดขึ้นไว้ก่อนและเคยปฏิบัติมาแล้วหรือ ตกลงกันตั้งขึ้นขณะจะเริ่มเล่นก็ได้ คือ ไม่ค่อยพิถีพิถันในเรื่องกติการมากนัก สรุปการละเล่นพื้นบ้านจึงหมายถึง กิจกรรมที่ประชาชนร่วมกันทำขึ้นเพื่อให้สนุกสนานและอื่น ๆ ในแต่ละท้องถิ่นหรือตำบลหมู่บ้าน บางอย่างอาจเหมือนกันกับท้องถิ่นอื่น และบางอย่างอาจแตกต่างกันไปบ้างตามความนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ การละเล่นต่างกับกีฬา การละเล่นแตกต่างจากกีฬาตรงที่การละเล่น จัดทำเพื่อมุ่งความสนุกสนานเป็นใหญ่ ไม่มุ่งที่จะเอาชนะกันอย่างจริงจัง ทั้งผู้เล่นก็ไม่จำเป็นต้องได้ฝึกซ้อมเตรียมตัวมาก่อนแต่อย่างใด คือ จะเล่นเมื่อไรก็อาจเข้าร่วมกิจกรรมเลยก็ได้ ส่วนกีฬา หมายถึง การละเล่นที่ต้องใช้กำลังพอสมควร การแข่งก็มีกติกาวางไว้แน่นอน และเป็นการกระทำที่ สลับซับซ้อน มีกลวิธีการเล่นและผู้เล่นซึ่งเรียกว่า นักกีฬา ก็ต้องได้รับการฝึกฝนมาก่อนพอสมควร ทั้งมีเทคนิคหรือกลวิธีการเล่นต่าง ๆ มากมาย เพื่อหวังให้ได้ชัยชนะ และการเล่นกีฬา ไม่ว่าจะไปเล่นที่ไหน ก็ต้องเล่นแบบนั้น เหมือนกัน เพราะมีกติกากำหนดไว้เป็นการแน่นอนตายตัวอยู่แล้ว การละเล่นพื้นบ้านจึงแตกต่างไปจากกีฬา ตรงที่เป็นการเล่นแบบง่าย ๆ เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน มากกว่าหวังแพ้ชนะเช่นการเล่นกีฬา แต่การละเล่นบางอย่างก็อาจอนุโลมเข้าเป็น นักกีฬา โดยยากที่แยกจากกันอย่างเด็ดขาดคืออาจเป็นกึ่งกีฬากึ่งการละเล่น แต่คนโบราณ ภาคอีสาน นิยมเรียกการละเล่นว่า การเล่นกันทั้งนั้น ไม่นิยมเรียกว่า กีฬาแม้จะมีการแข่งขันกันเหมือนกับการเล่นกีฬาก็ตาม               ความสำคัญของการละเล่น ได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า ธรรมชาติของมนุษย์เกิดมาย่อมมีการเคลื่อนไหว จะอยู่นิ่งไม่ได้ ยิ่งเป็นเด็กแล้วจะต้องมีการเคลื่อนไหวบ่อย ๆ ทั้งนี้ เพื่อบริหาร ร่างกายให้มีการเจริญเติบโต การเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งของมนุษย์ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ตลอดถึงผู้สูงอายุและมนุษย์มีนิสัยชอบสังคม คือ ชอบอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม จึงต้องมีการคบหาสมาคมกัน และมีการระบายออกทางจิตใจ เพื่อให้มีความสบายทั้งกายและใจด้วย การละเล่นจึงเป็นการแสดงออกของการเชื่อมความสามัคคีของคน ทำให้คนคบหากันได้อย่างสนิทสนมจึงนับเป็นนันทนาการอย่างหนึ่ง นอกจากนี้การละเล่นเมื่อมีการจัดเป็นระบบหรือแบบแผน มีกติกาให้คนในกลุ่มปฏิบัติ ย่อมเป็นการแสดงถึงความเจริญงอกงามของคนในกลุ่มนั้น และเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งด้วย อันแสดงถึงความเป็นผู้มีวัฒนธรรมของคนกุ่มนั้นด้วย การละเล่นจึงเป็นเครื่องช่วยส่งเสริมให้มีการพัฒนา ทั้งกายและจิตใจของคน ทำให้คนได้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความสามัคคีกลมเกลียวก้าวหน้านับเป็นวัฒนธรรมได้อย่างหนึ่ง ดังนั้นหากได้มีการฟื้นฟู แก้ไขเปลี่ยนแปลงและส่งเสริมการละเล่นของคนในกลุ่ม ในแต่ละหมู่บ้านให้คงมีอยู่ ผลที่ตามมาก็คือ นอกจากประชาชนได้ออกกำลังกายและทำให้จิตใจสบายแล้ว ยังทำให้คนในกลุ่มอยู่ด้วยกันด้วยความรักใคร่กลมเกลียวกัน และมีความสุขด้วย การละเล่นพื้นบ้านจึงนับมีความสำคัญ ซึ้งเราควรจะได้มีการอนุรักษ์ให้คงมีอยู่ และหาทางส่งเสริมหรือพัฒนาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น








cr.http://student.swu.ac.th/sc511010362/workhome/0mean.htm

เอกลักษณ์ไทย การแต่งกาย

 
การแต่งกาย

        การแต่งกาย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันการแต่งกายของชาวไทยจะเป็นสากลมากขึ้น แต่ก็ยังคงเครื่องแต่งกาย ของไทยไว้ในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น ในงานพระราชพิธี งานที่เป็นพิธีการ หรือในโอกาสพบปะ สังสรรค์ระหว่างผู้นำ พิธีแต่งงาน เทศกาลและงานประเพณีที่จัดขึ้น หรือในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการ แสดงให้เห็นถึงความเป็นไทยอย่างชัดเจน ในบางหน่วยงานของราชการ มีการรณรงค์ให้แต่งกายในรูป แบบไทย ๆ ด้วย ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
        การแต่งกายของไทย ประเทศ ไทยเป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมประจำชาติที่เป็นของตนเองมาเป็นระยะเวลา ยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นศิลปะไทย มารยาทไทย ภาษาไทย อาหารไทย และชุดประจำชาติไทยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีคุณค่า มีความงดงามบ่งบอกถึงเอกลักษณ์แห่งความเป็น "ไทย" ที่นำความภาคภูมิใจมาสู่คนในชาติการแต่งกายของไทยโดยเฉพาะในยุครัตนโกสินทร์ซึ่งมีอายุยาวนานมากกว่า 200 ปีนั้น ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ             นับตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ตอนกลาง ยุคเริ่มการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือ ยุค "มาลานำไทย" และ จนปัจจุบัน "ยุคแห่งเทคโนโลยีข่าวสาร" แต่ละยุคสมัยล้วนมีรูปแบบการแต่งกายที่เป็นของตนเองซึ่งไม่อาจสรุปได้ว่า แบบใดยุคใดจะดีกว่า หรือ ดีที่สุด เพราะวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม ล้วนต้องมีการปรับเปลี่ยนบูรณาการไปตามสิ่งแวดล้อมของสังคมแล้วแต่สมาชิกของ สังคมจะคัดสรรสิ่งที่พอเหมาะพอควรสำหรับตน พอควรแก่โอกาส สถานที่และกาลเทศะ









cr. http://poyty1406.blogspot.com/search?updated-min=2012-01-01T00:00:00-08:00&updated-max=2013-01-01T00:00:00-08:00&max-results=10

เอกลักษณ์ไทย การไหว้


การไหว้

๑. ไหว้พระ ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะ จรดหัวแม่มือที่กลางหว่างคิ้ว นิ้วชี้แตะที่เหนือหน้าผาก ก้มหัวให้หน้าขนานกับพื้น ค้อมหลังพอประมาณ


๒. ไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส เช่นเดียวกับการไหว้พระ แต่นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก นิ้วชี้จดหว่างคิ้ว

๓. ไหว้บุคคลทั่วไปและผู้เสมอกัน ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะเล็กน้อย หัวแม่มือจรดที่ปลายคาง นิ้วชี้แตะที่จมูก ค้อมหลังพอประมาณ
 








cr.http://poyty1406.blogspot.com/search?updated-min=2012-01-01T00:00:00-08:00&updated-max=2013-01-01T00:00:00-08:00&max-results=10

เอกลักษณ์ไทย ภาษาไทย

                                        ภาษาไทย





            ภาษาไทย คือ ภาษาพูดที่ใช้สื่อสารกันได้อย่างเข้าใจ ถึงแม้จะมีสำเนียงที่แตกต่างกันไปบ้างในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการใช้ศัพท์กับบุคคลในระดับต่าง ๆ และอักษรไทยที่ใช้ในภาษาเขียนโดยทั่วไป

           ภาษาไทย เป็นภาษาทางการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไต ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจาก การออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน นอกจากภาษากลางแล้ว ในประเทศไทยมีการใช้ ภาษาไทยถิ่นอื่นด้วย


 








cr.http://poyty1406.blogspot.com/search?updated-min=2012-01-01T00:00:00-08:00&updated-max=2013-01-01T00:00:00-08:00&max-results=10

ประเพณี


ประเพณี

                ประเพณี คือ แบบ ความเชื่อ ความคิด การกระทำ ค่านิยม ทัศนคติ ศีลธรรม จารีต ระเบียบ แบบแผน และวิธีการกระทำสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนถึงการประกอบพิธีกรรมในโอกาสต่าง ๆ ที่กระทำกันมาแต่ใน อดีต ลักษณะสำคัญของประเพณี คือ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติเชื่อถือมานานจนกลายเป็นแบบอย่างความคิด หรือการ กระทำที่สืบต่อกันมา และยังมีอิทธิพลอยู่ในปัจจุบัน
            ประเพณี เกิดจากความเชื่อในสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ เช่น อำนาจของดินฟ้าอากาศ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุต่าง ๆ ฉะนั้น ประเพณี คือ ความประพฤติของคนส่วนรวมที่ถือกันเป็นธรรมเนียม หรือ เป็นระเบียบแบบแผน และสืบต่อกันมาจนเป็นพิมพ์เดียวกัน และยังคงอยู่ได้ก็เพราะมีสิ่งใหม่เข้ามาช่วยเสริม สร้างสิ่งเก่าอยู่เสมอ และกลมกลืนเข้ากันได้ดี ความประพฤติที่สืบต่อกันมาจนเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในหมู่คณะ เป็นนิสัยสังคม ซึ่ง เกิดขึ้นจากการที่ต้องเอาอย่างบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตน หากจะกล่าวถึงประเพณีไทยก็หมายถึง นิสัยสังคม ของคนไทยซึ่งได้รับมรดกตกทอดมาแต่ดั้งเดิมและมองเห็นได้ในทุกภาคของไทย  ประเพณี เป็นเรื่องของความประพฤติของกลุ่มชน ยึดถือเป็นแบบแผนสืบต่อกันมานาน ถ้าใครประพฤตินอก แบบ ถือเป็นการผิดประเพณี เป็นการแสดงถึงเอกลักษณ์ของชาติอีกอย่างหนึ่ง โดยเนื้อหาสาระแล้ว ประเพณี กับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กลุ่มชนในสังคมร่วมกันสร้างขึ้น แต่ประเพณีเป็นวัฒนธรรมที่มีเงื่อนไขที่ค่อนข้าง ชัดเจน กล่าวคือเป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นเป็นมรดก คนรุ่นหลังจะต้องรับไว้ และปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป รวมทั้งมีการเผยแพร่แก่คนในสังคมอื่น ๆ ด้วย 





cr. http://poyty1406.blogspot.com/search?updated-min=2012-01-01T00:00:00-08:00&updated-max=2013-01-01T00:00:00-08:00&max-results=10